Archives
การเมืองและสถาบัน
ประชาธิปไตย และ การเมืองไทย
-
ประจักษ์ ก้องกีรติ. “จุดจบของประวัติศาสตร์หรือจุดจบของประชาธิปไตย”.
"OCTOBER 09: Political Economy & International Relations". 2553.
“บทความที่ชวนถกเถียงถึงนิยามและความหมายของประชาธิปไตย ด้วยการพาไปสำรวจระบอบต่างๆ ที่ถูกเรียกขานด้วยชื่อประชาธิปไตยหากแต่มีคำสร้อยขยาย วิเคราะห์ถึงเนื้อหาของรูปแบบการเมืองปกครองไปพร้อมกับตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้คำกลุ่มต่างๆ”
- ประจักษ์ ก้องกีรติ. “นิทานสอนใจว่าด้วยความโง่ จบ เจ็บของผู้เลือกตั้งชนบท มายาคติและอคติของนักรัฐศาสตร์ไทย”. "การเมืองของราษฎรไทยยุคหลัง (หลัง) ทักษิณ". 2555.
- ณัฐพล ใจจริง. “บทวิจารณ์หนังสือ เรื่อง ‘และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ : การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลา’ เขียนโดย ประจักษ์ ก้องกีรติ”. "วารสารสถาบันพระปกเกล้า, ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม 2548)". 2548.
- สันติสุข กาญจนประกร. “ส่งคนตุลาเข้านอน (บทสัมภาษณ์ ประจักษ์ ก้องกีรติ)”. Way Magazine. 2553.
- ธเนศ วงศ์ยานนาวา. “ไปดูนาวาเสรีประชาธิปไตยล่มปากอ่าว”. บทความสำหรับเสนอในที่ประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 8 ( พ.ศ.2550) “เมืองไทยระยะเปลี่ยนผ่าน”. 2550.
- อภิชาต สถิตนิรามัย และ ยุกติ มุกดาวิจิตร และ นิติ ภวัครพันธุ์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์: โครงการวิจัยบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย. 2556.
-
เกษียร เตชะพีระ. “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข : ที่มาและที่ไป”.
"บทความประกอบปาฐกถาในงานสัมมนาประจำปีของคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรื่อง “เมืองไทยหลังวิกฤต? : ทิศทางการเมืองการบริหารและการต่างประเทศไทย” จัดโดยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 10 มกราคม 2554". 2554.
“บทสรุปภาพการเมืองไทยสมัยใหม่ตั้งแต่การปฏิวัติ 2475 จนถึงวิกฤตการเมืองปัจจุบัน วิเคราะห์ลักษณะการปรองดองและต่อรองขอบเขตอำนาจระหว่างสถาบันดั้งเดิมกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในแต่ละยุค อ้างอิงถึงหนังสือและบทความสำคัญๆ ของผู้มีอิทธิพลด้านความคิดในสังคมไทย เหมาะแก่การอ่านเพื่อเเข้าใจภาพรวม ก่อนจะตามไปอ่านเจาะลึกในประเด็นที่สนใจตามที่ผู้เขียนได้อ้างอิงไว้”
- ศราวุฒิ วิสาพรม. “80 ปี การปฏิวัติสยาม 2475: ย้อนพินิจพรมแดนความรู้การปฏิวัติสยาม 2475 (อีกครั้ง). 2555.
- ณัฐพล ใจจริง. การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมิรกา ( พ.ศ.2491-2500). วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริยญารัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2552. 2552.
- กุลลดา เกษบุญชู มี้ด. “ความขัดแย้งทางการเมืองของไทย… ข้ามไปให้พ้นพลวัตภายใน”. ปาฐกถา 14 ตุลา ประจำปี 2552. 2552.
การเมืองภาคประชาชน
- ประภาส ปิ่นตบแต่ง. “การเมืองภาคประชาชน ขบวนการประชาสังคมในสังคมไทย และบทบาทต่อสังคมการเมืองไทย”. ไม่ปรากฏปีท่ีพิมพ์.
-
เกษียร เตชะพีระ. “บทความรัฐศาสตร์ไทยร่วมสมัย การเมืองภาคประชาชน ในงานวิจัยของเสกสรรค์”.
ไม่ปรากฏปีท่ีพิมพ์.
“สรุปย่อแนวคิดในงานวิจัยของเสกสรรค์ โดยทำให้เห็นภาพรวมของงานวิชาการเกี่ยวกับการเมืองภาคประชาชน แนะนำคำสำคัญเฉพาะทางที่เป็นประโยชน์ในการไปศึกษาต่อ”
- ไม่ปรากฏผู้เขียน. “การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิป ไตยไทย โดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล”. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์.
- “ประภาสชำแหละการเมืองภาคประชาชนภายใต้เงื้อเงาของอำนาจนิยม”. "ประชาไท, 26 กรกฎาคม 2558".
-
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ และ เควิน ฮิววิสัน. “บทวิพากษ์ ‘การเมืองภาคประชาชน’ ในประเทศไทย : ข้อจำกัดของแนววิเคราะห์และยุทธศาสตร์การเมืองแบบ ‘ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่’”.
"ฟ้าเดียวกัน, ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (เมษายน - มิถุนายน 2552)". 2552.
“บทความอภิปรายถึงแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์การเมืองภาคประชาชนนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 จนถึง พ.ศ.2549 ฉายให้เห็นภาพมุมมองที่มีต่อพลวัตรการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยเครือข่ายของภาคประชาชนโดยเชื่อมโยงกับตัวแสดงอื่น เช่น พรรคการเมือง สหภาพแรงงาน ปัญญาชน และสถาบันต่างๆ รวมทั้งวิพากษ์ข้อจำกัดของแนววิเคราะห์ที่มีอยู่เดิม”
- ณรงค์ บุญสวยขวัญ. “ปฏิบัติการของกลุ่ม องค์กร ขบวนการประชาสังคม ชนบทไทย กับนัยยะของการเมืองภาคพลเมือง”. "วารสารสถาบันพระปกเกล้า, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2550)". 2550.
- กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น. “เงื่อนไขความสำเร็จ/ล้มเหลวของยุทธวิธีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม: ศึกษากรณีขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินจังหวัดลำพูน”. "ใน รวมบทความที่ได้รับรางวัล วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ สำหรับวิทยานิพนธ์เพื่อคนจน 10 ธันวาคม พ.ศ.2551". 2551.
- อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล. การเมืองบนเฟซบุ๊ก: วัฒนธรรม- การเมืองบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ไทย พ.ศ.2553-2555. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาบัณฑิต สาขาวิชา มานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2555.
ภูมิศาสตร์การเมืองโลก
- จิตติภัทร พูนขำ. “การเปลี่ยนผ่านอำนาจโลกในโลกเปลี่ยนผ่านอำนาจข้อถกเถียงเชิงทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยการเมืองระบบขั้วอำนาจเดียว การครองอำนาจนำ และยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาต่อจีน”. "รัฐศาสตร์สาร, ปีที่ 37: ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2559)". 2559.
-
สุรชาติ บำรุงสุข. “รัฐอิสลาม : สงครามอิรักครั้งที่ 3”.
"จุลสารความมั่นคงศึกษา, ฉบับที่ 147 (ตุลาคม 2557)". 2557.
“บทความเกี่ยวกับกลุ่มก่อการร้าย ISIS ที่มีความละเอียดรอบด้าน วิเคราะห์มุมมองของความขัดแย้งตะวันออกกลางและความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ไปจนถึงลักษณะของการปฏิบัติการและการใช้ความรุนแรง”
-
สุรดา จุนทะสุตธนกุล. “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมข้ามชาติ: ตัวแสดงที่มีผลกระทบต่อนโยบายต่างประเทศในปัจจุบัน”.
วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 44 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2557). 2557.
“บทความนี้ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยมองว่าขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมข้ามชาติไม่เพียงแต่เป็นตัวแสดงที่มิใช่รัฐ (non-state actor) ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเมืองโลก หากยังเป็นพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย”
-
เบเนดิก แอนเดอร์สัน (กษิร ชีพเป็นสุข และ ชาญวิทย์ เกษตรสิริ แปล). ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม.
มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2552.
“ผลงานชิ้นเอกของอาจารย์เบเนดิก แอนเดอร์สัน นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์คนสำคัญของโลก ซึ่งสะท้อนบริบทและแนวความคิดเกี่ยวกับชาตินิยม ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ เช่น ภาษา เวลา วัฒนธรรม เรื่องเล่าที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อก่อร่างตัวตนของชุมชนที่เรียกว่าชาติ”
- แอมแนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล. รายงานประจำปี 2557-2558 แอมแนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล สถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลก. 2557.
- ธเนศ วงศ์ยานนาวา. “เหลี่ยมมุมของตัวต่อเลโก (Lego). : อำนาจท้องถิ่นกับจักรวรรดิ” ใน สถาบันไทยคดีศึกษา. "พระอัจฉริยคุณในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : เอกสารการสัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองศุภวาระ 200 ปี แห่งพระราชสมภพพระบาทสมเ็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หน้า 187-230". 2548.
- จันจิรา สมบัติพูนศิริ. “แนวคิดเรื่องประชาสังคมโลกและการเปลี่ยนผ่านสู่ภาคปฏิบัติ: ประเด็นการแทรกแซงด้านมนุษยธรรมและ ‘หลักรัฐผิดชอบเพื่อปกป้อง’”. วารสารธรรมศาสตร์, ปีที่ 33 ฉบับที่ 3. 2557.
นิติรัฐ ความยุติธรรมและรัฐธรรมนูญ
- วรเจตน์ ภาคีรัตน์. “เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง หลักนิติรัฐ”. ใน คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม 2557), หน้า 159-190". 2557.
- วรเจตน์ ภาคีรัตน์. “นิติรัฐกับความยุติธรรมทางสังคม”. "ปาฐกถา 60 ปี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, สำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊กส์, หน้า 322-364". 2554.
- ใบตองแห้ง และกองบรรณาธิการประชาไท. “วรเจตน์ ภาคีรัตน์ วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ (1). : ‘อภิรัฐบาล’ ม.44 แปลงร่าง”. "ประชาไท, 4 กันยายน 2558".
- ใบตองแห้ง และกองบรรณาธิการประชาไท. “วรเจตน์ ภาคีรัตน์ วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ (2). : หลังรัฐประหารเขียนเสรีภาพสวยเสมอ”. "ประชาไท, 5 กันยายน 2558".
- ใบตองแห้ง และกองบรรณาธิการประชาไท. “วรเจตน์ ภาคีรัตน์ วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ (3). : บังคับสายน้ำไหลทวนขึ้นฟ้า”. "ประชาไท, 5 กันยายน 2558".
- ปิยบุตร แสงกนกกุล. “นิติรัฐ ประชาธิปไตย และตุลาการภิวัฒน์ หลัง 25 เมษายน 2549”. "ในพระปรมาภิไธย ประชาธิปไตย และตุลาการ, สำนักพิมพ์โอเพ่นบุุ๊กส์". 2552.
- ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. “บทบาททางประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญในระบบประชาธิปไตยไทย”. "เสวนาวิชาการ โครงการตลาดวิชา มหาวิทยาลัยชาวบ้าน, มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์". 2550.
เศรษฐกิจและการพัฒนา
ทุนนิยม โลกาภิวัตน์และเสรีนิยมใหม่
- ปกป้อง จันวิทย์. นโยบายเศรษฐกิจทางเลือก: ว่าด้วยมาตรการกำกับและจัดการทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ. สำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊กส์. 2553.
- ปกป้อง จันวิทย์. เอกสารคำสอน วิชา มธ.125 ระบบทุนนิยม และวิวาทะว่าด้วยตลาด รัฐ และชุมชน. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2553.
- ปกป้อง จันวิทย์. เอกสารคำสอน วิชา มธ.125 เศรษฐกิจไทยบนเส้นทางการพัฒนา. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2553.
- ปกป้อง จันวิทย์. เอกสารคำสอน วิชา มธ.125 แรงงานภายใต้กระแสโลการภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2553.
-
สฤณี อาชวานันทกุล. เงินเดินดิน.
โอเพ่นบุ๊กส์. 2552.
“หนังสือที่ชวนสำรวจปฏิสัมพันธ์ที่มนุษย์ในสังคมปัจจุบันมีต่อเงิน และวิธีทำงานของเงินในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ราคา หรือความมั่งคั่ง จากมุมมองของนักการเงิน รวมทั้งทฤษฎี และการค้นพบใหม่ๆ ในโลกวิชาการ”
-
สฤณี อาชวานันทกุล. การเงินปฏิวัติ.
โอเพ่นบุ๊กส์. 2554.
“หนังสือที่ช่วยฉายภาพทั้งวิกฤตและโอกาสของภาคการเงินกระแสหลักและกระแสรอง ในยุคต้นศตวรรษที่ 21”
- กอบศักดิ์ ภูตระกูลและคณะ. U.S. Crisis วิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา. โอเพ่นบุ๊กส์. 2552.
-
สฤณี อาชวานันทกุล. ล่องคลื่นโลกาภิวัตน์.
โอเพ่นบุ๊กส์. 2550.
“อันตรายของโลกาภิวัตน์อยู่ในแนวโน้มที่บริษัทยักษ์ใหญ่และรัฐบาลที่ถูกอำนาจทุนครอบงำ จะใช้มันเป็นเครื่องมือในการสร้างความมั่งคั่งและปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองในทางที่ลิดรอนประโยชน์ส่วนรวมลงไปเรื่อยๆ แต่ในขณะเดียวกันโลกาภิวัตน์ก็น่าตื่นเต้นตรงที่สามารถมอพลังให้ประชาชนคนธรรมๆ ทั่วโลกให้สามารถรวมพลังกันผ่านโลกเสมือในอินเทอร์เน็ตเป็นมหาอำนาจแห่งที่สองที่สามารถกดดันผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในโลกแห่งความจริงได้ และทำให้วัฒนธรรมอันหลากหลายได้มาปะทะสังสรรค์กันในทางที่มีพลวัตมากกว่าในอดีต และการปะทะสังสรรค์กันนั้นเองก็จะช่วยทลายกำแพงอคติทั้งมวลที่มีรากมาจากความไม่รู้”
- เนตรดาว เถาถวิล. “‘เฮ็ดอยู่ แต่บ่พอกิน’: คำถามว่าด้วยการพึ่งตนเองของชาวนาและเกษตรอินทรีย์ในยุคโลกาภิวัตน์และการพัฒนา”. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา 30(2) กรกฎาคม-ธันวาคม 2554 หน้า 84-109. 2554.
การพัฒนาเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำ
- สฤณี อาชวานันทกุล. ความเหลื่อมล้ำฉบับพกพา. สำนักพิมพ์เปนไท. 2554.
- เดือนเด่น นิคมบริรักษ์. “การผูกขาดกับความเหลื่อมล้ำในภาคธุรกิจ” ใน นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย)”. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการ “การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคม”, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 2554.
- ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์. “เจาะปัญหา ‘ความเหลื่อมล้ำ’”. “เศรษฐ”ความคิด (settaKid.com), 12 ธันวาคม 2558".
- สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. “ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประชาธิปไตย”. ปาฐกถา 14 ตุลา ประจำปี 2553. 2553.
- ผาสุก พงษ์ไพจิตร. “ภาพรวมของความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการพื้นฐานของประเทศไทย”. ปาฐกถาเสาหลักของแผ่นดิน ครั้งที่ 1, วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554. 2554.
- แบงค์ งามอรุณโชติ. ความยุติธรรม – คำพิพากษา – ปัญหาสิ่งแวดล้อม. สำนักงานปฏิรูป (สปร.). 2556.
- กุลภา วจนสาระ. มองหาความเป็นธรรมในสังคมไทยผ่านคนชายขอบ. 2555.
- นิธิ เอียวศรีวงศ์. วัฒนธรรมความจน. แพรวสำนักพิมพ์. 2541.
ธุรกิจยั่งยืน
- สฤณี อาชวานันทกุล. ทุนนิยมที่มีหัวใจ ทางเลือกใหม่แห่งการพัฒนา. สำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊กส. 2551.
- กอปรทิพย์ อัจฉริยโสภณ และ สฤณี อาชวานันทกุล (แปล). “คิดใหม่เรื่องความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม” แปลโดย (“Rethinking the Social Responsibility of Business : A Reason Debate”). เว็บไซต์คนชายขอบ.
- อายุวัต เจียรวัฒนกนก และคณะ. กรณีศึกษา คุณค่าของระบบนิเวศและนิเวศบริการ สำหรับภาคธุรกิจ. ECO-BEST. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์.
-
สฤณี อาชวานันทกุล. ตกน้ำไม่ไหลนิยม.
สำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊กส. 2550.
“หนังสือเสนอตัวอย่างเรื่องราวของนักคิดกระแสรองที่พยายามทำงานเพื่ออุดช่องโหว่ของทุนนิยม ไม่ให้กลับกลายเป็นศัตรูของประชาธิปไตย สิ่งแวดล้อม หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นๆ”
เศรษฐกิจไทย
- สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และนณริฏ พิศลยบุตร. สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพ: ความท้าทายและโอกาสของประเทศไทยในสามทศวรรษหน้า. บทความวิชาการนำเสนอในงานสัมมนาวิชาการประจาปี 2557 ของสถาบันวิจัยเพ่ือการพัฒนาประเทศไทย (TDRI). 2557.
-
อัมมาร สยามวาลา. “เศรษฐกิจไทย : 50 ปีแห่งการขยายตัว”.
ใน ความรู้นั้นสำคัญยิ่งใหญ่..., หน้า 43-69. 2540.
“บทความที่ฉายภาพการพัฒนาเศรษฐกิจไทยสมัยใหม่ตลอด 50 ปีอย่างรอบด้าน โดยวิเคราะห์บทบาทของบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ที่มีอิทธิพลในการกำหนดแนวทางและทิศทางการพัฒนา”
- สมชัย จิตสุชน และ นณริฏ พิศลยบุตร. “โฉมหน้าและแนวทางสู่โมเดลใหม่ในการพัฒนาประเทศ”. บทความนำเสนอในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2556 มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักางานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มูลนิธิฟรีดริคเอแบร์ท และมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. 2556.
- มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา. “2 ปีค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท: สิ่งที่คาด, สิ่งที่เกิดขึ้นจริง, สิ่งที่ต้องทำต่อ”. ค่าแรงขั้นต่ำ การพัฒนาเศรษฐกิจ. 2557.
- สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. “เศรษฐธรรมในยุคโลกาภิวัตน์”. สวนโมกแสวนาสัญจรครั้งที่ 11 หัวข้อ “ระบบเศรษฐกิจที่มีศีลธรรม ฝันเกินไปรึเปล่า. 2549.
-
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง พ.ศ.2484.
มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2527.
“หนังสือรวบรวมบทความที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจไทยในอดีตจากแง่มุมต่างๆ อย่างหลากหลาย โดยนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงในแต่ละด้าน”
สังคมและวัฒนธรรม
ความเป็นไทย
- สายชล สัตยานุรักษ์. “การสร้าง ‘ความเป็นไทย’ กระแสหลัก และ ‘ความจริง’ ที่ ‘ความเป็นไทย’ สร้าง”. ฟ้าเดียวกัน, ปีที่ 3 ฉบับที่ 4, หน้า 40-67.
- สายชล สัตยานุรักษ์. “ทางเดินปัญญาชนสยาม : จากอดีตถึงปัจจุบัน”. ปัญญาชน ความเป็นไทย ประวัติศาสตร์ไทย ชนชั้นนำ.
- สายชล สัตยานุรักษ์. “ชาตินิยม วัฒนธรรม และความขัดแย้ง”. ชาตินิยม วัฒนธรรมไทย ความเป็นไทย พุทธศาสนา ชาติพันธุ์ ชนชั้น.
- สายชล สัตยานุรักษ์. “สองร้อยปีวัฒนธรรมไทย และความยุติธรรม”. "มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน". 2550.
- ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ลัทธิชาตินิยมไทย-สยาม กับกัมพูชา: ข้อพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร (กลับมาเยือน). ปาฐกถาป๋วย อึ๊งภากรณ์ คร้ังท่ี 11 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2552.
- “TYPE THAI – พิมพ์ไทย ‘ประชา สุวีรานนท์’”. Way Magazine ฉบับที่ 44 กันยายน 2554.
- นิธิ เอียวศรีวงศ์. “สองมาตรฐานในสังคมไทย”. มติชนสุดสัปดาห์ (18-24 กันยายน 2558). 2558.
-
สายชล สัตยานุรักษ์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่: ประวัติศาสตร์สังคมไทย.
สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 1545 หน้า. 2558.
“รายงานการวิจัยที่สำรวจจากหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรองอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงอย่างละเอียดอ่อนของสังคมไทยในทุกๆ ด้าน เพื่อช่วยให้เข้าใจภาพรวมความเปลี่ยนแปลงอย่างซับซ้อนของสังคมไทยตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน และช่วยให้เข้าใจปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยชัดเจนขึ้นด้วย”
- ปรีดี พนมยงค์. “ความเป็นมาของชื่อ ‘ประเทศสยาม’ กับ ‘ประเทศไทย’. เขตแดนของเราเพื่อนบ้านอาเซียนของเรา. 2552 (พิมพ์ใหม่).
- ธงชัย วินิจจะกูล. “ประวัติศาสตร์ไทย แบบราชาชาตินิยม: จากยุคอาณานิคมอำพราง สู่ราชาชาตินิยมใหม่หรือลัทธิเสด็จพ่อของกระฎุมพีไทยในปัจจุบัน”. วารสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 พฤศจิกายน 2544. 2544.
- ธงชัย วินิจจะกูล. “ประวัติศาสตร์การสร้าง ‘ตัวตน’”. วารสารอยู่เมืองไทย. 2530.
- สิทธิเทพ เอกสิทธิพงศ์. “ลูกจีนรักชาติ : สำนึกประวัติศาสตร์และนิยามประชาธิปไตย”.
- พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ. “วาทกรรมชาตินิยมของรัฐบาลไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2475 ถึง พ.ศ.2550”. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วันที่ 1-2 ก.พ. 2554. 2554.
- กีรติ กล่อมดี. “‘รัฐ’ ‘ชาติ’ ‘ประชาชาติ’ และความเป็นไทยในทัศนะปัญญาชนหัวก้าวหน้า: พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์พระพันธ์”. วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2552. 2552.
- ธงชัย วินิจจะกูล. “กุ ลอบ ลอก แต่งแบบไพร่ๆ ความผิดของก.ศ.ร.กุหลาบที่ตัดสินโดยนักประวัติศาสตร์อำมาตย์”. ใน "ธนาพล ลิ่มอภิชาต และ สุวิมล รุ่งเจริญ (บรรณาธิการ) , 2558 , เจ้าพ่อ ประวัติศาสตร์ จอมขมังเวทย์: รวมบทความเพื่อเป็นเกียรติในโอกาสครบรอบ 60 ปี ฉลอง สุทนราวาณิชย์, สำนักพิมพ์ศยาม". 2558.
- ณัฐพล ใจจริง. การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมิรกา ( พ.ศ.2491-2500). วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริยญารัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2552. 2552.
อาเซียน
- ยุกติ มุกดาวิจิตร. อาเซียนร่วมสมัย : พรมแดนใหม่ในยุคไซเบอร์. มูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทยและมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2556.
- “ชี้ วิถีอาเซียน ตัวขวางการหลอมรวมประชาสังคม”. ข่าวสดออนไลน์ 12 พฤษภาคม 2557.
- ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. “ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ : ประวัติศาสตร์ของความหวังในภูมิภาคอาเซียน”. ประชาไท 30 มีนาคม 2555.
- โดม ไกรปกรณ์. “การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมัยอาณานิคม : มองผ่านการผลิตและบริโภคกาแฟ”. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, ปีที่ 33 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2557). 2557.
- ฐากูร จุลินทร. รวมบทความเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน พ.ศ.2555. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2556.
- สุรินทร์ พิศสุวรรณ. “สารจากเลขาธิการอาเซียน ‘ประชาคมอาเซียน: อนาคตอุษาคเนย์’” และ “ปาฐกถา รัฐชาติ-พรมแดน: ความขัดแย้งและข้อยุติบนเส้นทางสันติภาพอาเซียน” และ “ปาฐกถา โลกของอิสลามและมุสลิมในสยามประเทศไทย-อุษาคเนย์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้”. เอกสารสรุปการสัมมนาวิชาการจากหลายโอกาส, มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2552.
- ธงชัย วินิจจะกูล (พวงทอง ภวัครพันธุ์ แปล). “ภูมิกายาและประวัติศาสตร์”. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์.
- เปรม จาบ. ข้อพิพาทพรมแดนกัมพูชา-ไทย ปัญหาชาตินิยมและอำนาจ: ศึกษากรณีปราสาทพระวิหาร (เสียงสะท้อนจากกัมพูชา”. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2552.
โลกาภิวัตน์ cosmopolitanism
- สฤณี อาชวานันทกุล. “งานแปลเกี่ยวกับความคิดของ Kwame Anthony Appiah โสกราตีสยุคโลกาภิวัตน์ ผู้รณรงค์ความหลากหลาย: Cosmopolitanism”. เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน บทความลำดับที่ 1183. 2550.
- “Practical Report สัมภาษณ์ประชา สุวีรานนท์ : รีดีไซน์ ‘ไทยๆ’ แลนด์”. "Siam Intelligence, 14 สิงหาคม 2556".
- ศิริจิต สุนันต๊ะ. “สถานะการโต้แย้งเรื่องพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย”. วารสารภาษาและวัฒนธรรมปีที่ 32 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2556). 2556.
- Jared Diamond (อรวรรณ คูหเจริญ นาวายุทธ แปล). ล่มสลาย: ไขปริศนาความล่มจมของสังคมและอารยธรรม. สำนักพิมพ์ Oh My God. 2552.
- วิศรุต พึ่งสุนทร. ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม: พัฒนาการและแนวคิด. รายงานวิจัยพัฒนาการและแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรม. 2557.
- กนกวรรณ ธราวรรณ. “รัฐไทยกับชีวิตคู่แบบเพศวิถีนอกขนบ” ใน ประชาชนขายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย”.
- กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์. รายงานฉบับสุดท้าย โครงการศึกษาวิจัยพลวัตการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของโลกที่มีผลกระทบต่อวัฒนธรรม – สังคมไทย. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2540.
สรุป-ทั่วไป (ไทยในสังคมโลก)
- ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคณะ. รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการ “สู่สังคมไทยเสมอหน้า การศึกษาโครงสร้างความมั่งคั่งและโครงสร้างอำนาจเพื่อการปฏิรูป”. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2556.
- มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. ฉากทัศน์ชีวิตคนไทย พุทธศักราช 2576. สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2557.
- มาร์ค ศักซาร์ (ภัควดี วีระภาสพงษ์ และ คณะ แปล). สังคมไทยในวังวนแห่งวิกฤตเปลี่ยนผ่าน. สำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊กส์และมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท. 2557.
- สฤณี อาชวานันทกุล และคณะ. Macrotrends: ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลกใหม่และการปรับตัวของไทย. คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊กส์. 2552.
- SIU. Think Tank ถังความคิด ว่าด้วยสังคมไทยกับความขัดแย้งครั้งใหญ่ในรอบกึ่งศตวรรษ. สยามอินเทลลิเจนซ์ยูนิต. 2552.